อำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่กำหนดขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2546 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
(1) จัดทำนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของท้องถิ่น
(2) วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณ เงินอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
(3) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(4) กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และในเขตพื้นที่การศึกษา
(5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(6) ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(7) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(8) ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษารูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
(9) ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
(10) ประสาน ส่งเสริม การดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
(11) ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(12) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
การแบ่งส่วนราชการภายใน
ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ ได้แบ่งส่วนราชการภายในตาม
ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ดังกล่าว ดังนี้
(1) กลุ่มอำนวยการ
(2) กลุ่มนโยบายและแผน
(3) กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(4) กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์
(5) กลุ่มบริหารงานบุคคล
(6) กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
(7) กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา
(8) กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา
(9) หน่วยตรวจสอบภายใน
(10) กลุ่มกฏหมายและคดี
ทิศทางการพัฒนาการศึกษา ปี 2566
ปรัชญา : การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต : Education Development for Quality of Life Improvement
ปณิธาน : ยึดประโยชน์ของนักเรียนและสถานศึกษาเป็นสำคัญ : Students and Schools Come First (SSCF)
ค่านิยมองค์กร : (Corporate Values) CSTQa
สร้างสรรค์ผลงาน : Creativity
บริการฉับไว : Service Mind
เน้นความโปร่งใส : Transparency
ใส่ใจคุณภาพ : Quality attentive
วัฒนธรรมองค์กร : องค์กรแห่งคุณภาพที่มีชีวิต : Quality Organization of Life
วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรคุณภาพมุ่งสู่การบริหารและจัดการศึกษาที่มีมาตรฐานทุกมิติอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1.ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะเต็มศักยภาพตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีและใช้ความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษา
ที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศ
3.ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษามีการบริหารจัดการศึกษาที่เน้นความปลอดภัย และมีเป้าหมาย การพัฒนาที่ยังยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำ
5.พัฒนาระบบการบริหารจัดการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด ให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์
- ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรัก และความภูมิใจในความเป็นไทย
- ผู้เรียนมีความรู้ คุณลักษณะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
- ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีความสามารถและใช้สมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ จิตวิญญาณความเป็นครู รวมทั้งมีขวัญและกำลังใจ
- สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการให้ผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ได้รับการดูแลและรู้เท่าทันภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมถึงอาชญากรรมไซเบอร์ สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ และรองรับวิถีชีวิตใหม่ รวมถึงมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
- สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals :SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือ ให้ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ผู้เรียนได้รับโอกาสและบริการทางการศึกษาที่ส่งเสริมอัจฉริยภาพในตนอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึงและเท่าเทียม
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 ยกระดับคุณภาพการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและทักษะจำเป็นในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานทางวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีความปลอดภัย และมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
กลยุทธ์ที่ 5 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา